วิสัยทัศน์ และภารกิจ
วิสัยทัศน์
แหล่งรวบรวมมรดกภูมิปัญญาด้านทรัพยากรสารสนเทศที่สมบูรณ์และทันสมัย มุ่งให้บริการอย่างดีเด่น พร้อมเป็นผู้นำด้านวิชาชีพห้องสมุด
ภารกิจหลัก
1. ดำเนินการสำรวจ จัดหา รวบรวม จัดเก็บ และสงวนรักษามรดกภูมิปัญญาด้านทรัพยากรสารสนเทศในรูปของสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และ เอกสารโบราณ
2. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ดำเนินงานด้านเทคนิควิชาการบรรณารักษศาสตร์ สารสนเทศศาสตร์และเทคโนโลยีสารนิเทศ ตามหลักมาตรฐานสากล ตลอดจนให้การฝึกอบรมแก่บุคลากรของหน่วยงานและสถาบันการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ
3. ให้บริการและส่งเสริมการอ่าน ศึกษา ค้นคว้า และวิจัยแก่ประชาชน เพื่อให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการศึกษาตามอัธยาศัย
4. เป็นศูนย์ประสานงานระบบสารสนเทศทางวิชาการแห่งชาติ
5. เป็นศูนย์วารสารระหว่างชาติแห่งประเทศไทย ศูนย์กำหนดเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือและวารสาร ศูนย์กำหนดรายละเอียดทางบรรณานุกรมของหนังสือที่จัดพิมพ์ในประเทศ และเป็นศูนย์กลางและเปลี่ยนและยืมสิ่งพิมพ์ในระดับชาติและนานาชาติ
6. เป็นคลังสิ่งพิมพ์ของชาติ
7. เป็นหน่วยงานรับจดแจ้งการพิมพ์หนังสือพิมพ์ ตามกฎหมายว่าด้วยการจดแจ้งการพิมพ์ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
8. กำหนดเกณฑ์มาตรฐานงานวิชาการบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ของหอสมุดแห่งชาติ
9. ดำเนินการส่งเสริมและประสานงานเครือข่ายหอสมุดแห่งชาติ
10. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
หน้าที่ในด้านต่างๆ
ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
1. ดำเนินการเกี่ยวกับงานสารบรรณ งานธุรการ และเลขานุการประชุมของหน่วยงาน
2. ดำเนินการเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชีในเบื้องต้นของหน่วยงาน
3. ดำเนินการเกี่ยวกับงานพัสดุ งานอาคารสถานที่ และงานยานพาหนะของหน่วยงาน
4. ดำเนินการเกี่ยวกับงานบุคคลในเบื้องต้นของหน่วยงาน
5. ดำเนินการเกี่ยวกับงานแผนงาน / โครงการและงานงบประมาณของหน่วยงาน
6. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
กลุ่มพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
1. จัดหา คัดเลือก รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภทที่ผลิตภายในประเทศและต่างประเทศ และติดตามทรัพยากรสารสนเทศตามพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์
2. ดำเนินการแลกเปลี่ยนและบริการยืมสิ่งพิมพ์ระหว่างห้องสมุดในประเทศและต่างประเทศ
3. ลงทะเบียนทรัพยากรสารสนเทศ ตามหลักวิชาการบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
4. วิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศเพื่อกำหนดหมวดหมู่ ลงรายการทางบรรณานุกรม บันทึกข้อมูลในฐานข้อมูล และกำหนดรายละเอียดทางบรรณานุกรมของหนังสือ (CIP)
5. รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศที่ได้รับตามพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์เพื่อจัดเก็บเป็นคลังสิ่งพิมพ์ของชาติ
6. รวบรวมรายชื่อสิ่งพิมพ์เพื่อจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติ
7. ดำเนินงานด้านเทคนิคเกี่ยวกับสื่อโสตทัศน์ บันทึกภาพ ผลิต แปลงสภาพ และจัดทำสำเนาต้นฉบับทรัพยากรสารสนเทศ
8. ให้คำปรึกษา แนะนำ และเผยแพร่ความรู้ด้านวิชาการแก่สถาบันการศึกษาและหน่วยงานอื่นๆ
9. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
กลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ
1. ให้บริการการอ่าน ตอบคำถาม และช่วยการค้นคว้าวิจัย
2. จัดทำดรรชนี บรรณนิทัศน์ บรรณานุกรม สาระสังเขป และเอกสารแนะนำการใช้บริการ
3. บริการสารสนเทศลักษณะพิเศษ รับจดแจ้งการพิมพ์หนังสือพิมพ์และวารสารตามพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พุทธศักราช ๒๕๕๐ กำหนดเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN) และเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN)
4. ดำเนินงานด้านเทคนิคเกี่ยวกับการซ่อมและสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศ
5. ดำเนินงานกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และบริการนำชม
6. ให้คำปรึกษา แนะนำ และเผยแพร่ความรู้ด้านวิชาการแก่สถาบันการศึกษาและหน่วยงานอื่นๆ
7. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
กลุ่มวิจัยและพัฒนาห้องสมุด
1. ศึกษา ค้นคว้า วิจัย ด้านวิชาการเพื่อประเมินคุณภาพ และพัฒนาระบบงานของหอสมุดแห่งชาติ
2. วิเคราะห์ วางแผน เพื่อประเมินคุณภาพ และพัฒนาบุคลากร
3. ประสานงานเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดทั้งในและต่างประเทศ และเป็นสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการอำนวยการและประสานงานระบบสารนิเทศทางวิชาการแห่งชาติ และศูนย์ประสานงานสารนิเทศสาขามนุษยศาสตร์
4. ให้คำปรึกษา แนะนำ เผยแพร่ ประสานงาน และจัดฝึกอบรมด้านการปฏิบัติงานและวิชาการแก่สถาบันการศึกษา และหน่วยงานอื่นๆ
5. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก
1. วิเคราะห์ วิจัย เปรียบเทียบลักษณะรูปแบบอักษรและภาษา กำหนดอายุสมัย กำหนดหลักเกณฑ์ ในการคัดถ่ายถอด คัดลอก ทำสำเนา ปริวรรต และแปลอักษร-ภาษาโบราณจากเอกสารโบราณเป็นอักษร-ภาษาไทยปัจจุบัน
2. สำรวจแหล่งข้อมูลเอกสารโบราณในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ
3. จัดทำทะเบียนเอกสารโบราณ วิเคราะห์กำหนดหมวดหมู่ จัดทำทะเบียน บัตรรายการ และบัญชีบริการตามประเภทของเอกสารโบราณ
4. พิจารณาตรวจสอบสภาพเอกสารโบราณเพื่อจัดให้มีการอนุรักษ์ สงวนรักษาต้นฉบับ และส่งทำสำเนาประเภทต่างๆ ที่เหมาะสม
5. บริการ และให้ข้อมูลประกอบการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารโบราณแก่นิสิต นักศึกษาประชาชน
6. ให้คำปรึกษา แนะนำ เผยแพร่ ประสานงาน และจัดฝึกอบรมด้านการปฏิบัติงานเกี่ยวกับเอกสารโบราณแก่หน่วยงานอื่นๆ และเอกชนที่เกี่ยวข้อง
7. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร
1. สำรวจ จัดหา รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศด้านดนตรีทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโสตทัศน์
2. อนุรักษ์ สืบสาน ผลิตและเผยแพร่ข้อมูลวิชาการทางดนตรีทั้งในรูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโสตทัศน์
3. ดำเนินงานด้านเทคนิควิชาการบรรณารักษศาสตร์ สารสนเทศศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศตามหลักมาตรฐานสากล ตลอดจนให้การฝึกอบรมแก่บุคลากรของหน่วยงานและสถาบันการศึกษา
4. ให้บริการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ทรัพยากรสารสนเทศด้านดนตรีประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อโสตทัศน์แก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชน
5. เป็นศูนย์กลางประสานงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลวิชาการดนตรีกับองค์กร สมาคมทั้งภาครัฐและประชาชน
6. ให้คำปรึกษา แนะนำ และเผยแพร่ด้านวิชาการแก่สถาบันการศึกษาและหน่วยงานอื่นๆ
7. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
หอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ
1. ให้บริการ การอ่าน ศึกษา ค้นคว้า วิจัย หนังสือ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกสาขาวิชาแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชน
2. บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า
3. จัดนิทรรศการและกิจกรรมเพื่อการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการอ่านและเสริมความรู้แก่ประชาชน
4. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย